top of page

เพราะชีวิตมันเจ้มจ้น คำคมจึงปังเวลาทำคอนเทนต์!

แฮสแท็กสู้สิสาวนี่มันสะท้อนอะไรหลายอย่าง ในยุคโควิดแบบนี้ที่ทำให้ข้าวมากอยากแพง (ไม่ได้เขียนผิด) ทำให้คนทำงาน นักเรียน แม่บ้าน ทุกๆ คนในสังคมล้วนมีชีวิตที่เจ้มจ้น แบบเลือดข้นคนจาง ต้องใช้ชีวิตแบบ เฮ้ย!! พรุ่งนี้จะรอดไหมนะตลอดเวลา และที่สำคัญไม่ว่าใครก็ล้วนอยากได้กำลังใจดีดีจากใครสักคน ดังนั้นธรรมชาติของคนเราจึงโหยหาพลังบวกให้ตัวเองตลอดเวลา ดังนั้นการเขียนบทความ คอนเทนต์หรือแม้กระทั้งคนที่รับเขียนบทความ รับทำคอนเทนต์ก็ยังโดนรีเควสให้ทำแนวนี้ แล้วเราจะสามารถเขียนคำคมเองได้ไหม? หรือจะหาคำคมได้จากที่ไหน? เขียนแล้วจะปังไหม? วันนี้มีคำตอบ


คำถามแรกคือเราจะสามารถเขียนคำคมเองได้ไหม?

แน่นอนว่าได้ล้านเปอร์เซ็นต์ คำคมไม่ใช่คำคล้องจองแต่เป็นสิ่งที่พูดออกมาแล้วมันบาดใจ โดยเฉพาะหากเรื่องราวเหล่านั้นมันตรงกับปัญหาหรือสภาพที่เราเป็นอยู่ตอนนี้ ลองคิดถึงความคิดเห็นหรือข้อสรุป หรือความต้องการเราที่มีต่อเรื่องนั้นๆ ดูสิ แล้วลองเขียนมันออกมา เช่น หากคุณขายสินค้าเกี่ยวกับแม่ คุณเขียนให้คนเป็นแม่อ่าน คุณต้องจินตนาการถึงปัญหาที่แม่ๆ มักจะเจอ และเขียนมันออกมา


“การเป็นแม่บ้าน ไม่ได้อยู่บ้านเฉยๆ ถ้าเปรียบเทียบเวลาฉันคือพนักงานที่เข้ากะ24ชั่วโมง”


เพราะนี่คือปัญหาที่แม่บ้านเจอดังนั้นเมื่อคำคมมันเจ้มจ้นขนาดนี้ ต้องมีแม่บ้านสักกรุบที่แชร์ไปหน้าฟีดให้ป้าข้างบ้านได้อ่านบ้างแหละหน่า


คำถามต่อมาจะไปหาคำคมได้จากที่ไหน?

ง่ายมาก ก็ google ไง แต่…….มันง่ายไป เพราะถ้าคุณผ่านคำถามแรกมาได้และทำเป็นแล้ว

คุณไม่ต้องไปหาคำคมสำเร็จรูปเลย แค่คิดถึงปัญหา ความเจ็บปวดที่อยู่ในใจลูกค้าของคุณให้ได้

แค่นี้ก็พอแล้ว


คำถามสุดท้าย เขียนแล้วจะปังไหม?

มันอยู่ที่ว่าคาแรคเตอร์ของแอดมินเพจเป็นอย่างไร เน้นสนุกขำๆ หรือแนวให้กำลังใจชีวิตคนอื่น

หรือแนวดราม่าปาดน้ำตาไปเขียนไป ทุกอย่างทำได้แน่นอนและจะปังแน่หากฝึกบ่อยๆ

และได้ฟีดแบคที่ดีกลับมานั่นก็คือ การคอมเม้นท์กดไลค์กดแชร์จากลูกค้าของเรา


bottom of page